“KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจเกียรตินาคินภัทร” วิเคราะห์ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของรัฐบาล ทั้งการแจกเงิน การอุดหนุนราคาพลังงาน และการพักหนี้ ที่มีต้นทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดคำถามหลายด้านถึงความเหมาะสมและต้นทุนที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายเหล่านี้ ซึ่งผลการศึกษาการแจกเงินทั่วไปมีขนาดต่ำกว่า 1 เท่าและผลต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าต้นทุนที่รัฐต้องจ่าย รวมทั้งมีความเป็นไปได้สูงที่ไม่ใช่ประชาชนทุกคนที่จะเข้าร่วมและใช้จ่ายเงินทั้งหมดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมดที่รัฐบาลใหม่กำลังจะดำเนินการจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือจีดีพี เพิ่มขึ้นเพียง 1% จากต้นทุนด้านงบประมาณที่ต้องใช้สูงถึงกว่า 3.6% ของจีดีพี หรือคิดเป็น 18% ของวงเงินงบประมาณเดิม การขาดดุลการคลังต่อปีที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐและต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจทำให้หนี้สาธารณะแตะกรอบบนที่ 70% ได้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี และไทยต้องเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้ปฏิรูปเศรษฐกิจไทยเชิงโครงสร้างในระยะยาว โดยเงิน 5.6 แสนล้านบาททำให้รัฐบาลไทยมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปใช้ลงทุนในโครงการอื่น ๆ
นอกจากนี้การแจกเงินให้กับคนทั้งประเทศอาจไม่มีความจำเป็นและสร้างภาระต้นทุนภาครัฐสูงเกินไป แนวทางที่ภาครัฐควรพิจารณา คือ ควรให้ความช่วยเหลือแบบเฉพาะกลุ่มที่มีความเดือดร้อน, ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในระยะยาว เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ลดกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นและสร้างต้นทุนต่อการทำธุรกิจคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ttb analytics” วิเคราะห์ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกรล่าสุดเป็นครั้งที่ 14 มีการเพิ่มมาตรการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ เหมือนการจ่ายยาฆ่าเชื้อให้กับปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทย ซึ่งปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกรไทย มาจากการกระจายรายได้จากผลผลิตที่กลับสู่มือของเกษตรกรไทยที่น้อยมาก และมีต้นทุนผันผวน ปริมาณผลผลิตที่คาดเดายากจากสภาวะภูมิอากาศ ดังนั้น ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง การพักชำระหนี้เกษตรกรคงเปรียบเหมือนยาแก้ปวดเพื่อประวิงเวลา หรือบรรเทาอาการในช่วงที่พักชำระหนี้ ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มรู้สึกถึงความเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อยาแก้ปวดหมดฤทธิ์ในยามการพักชำระหนี้สิ้นสุด
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ในระยะยาว ควรยกระดับเกษตรกรที่มีศักยภาพและความพร้อม ให้เป็นผู้ประกอบการที่สามารถเพิ่มพื้นที่กำไรให้มากขึ้นจากสินค้าขั้นสุดท้าย จากเดิมที่ได้รับกำไรเป็นสัดส่วนจากราคาสินค้าขั้นกลางที่เป็นเพียงวัตถุดิบ ,การให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องช่องทางจำหน่าย ที่ปัจจุบันการขายสินค้าทางการเกษตรมีความง่ายและสะดวกกว่าในอดีต ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างไร้พรมแดน และสามารถจัดส่งสินค้าผ่านผู้ให้บริการขนส่งที่มีพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศ
ขณะที่ภาครัฐช่วยจัดตั้งกองทุนเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูก เช่น เพื่อค่าปุ๋ย ค่ายา พันธุ์ข้าว รวมถึงจัดหาสินค้าทุนที่ให้เกษตรกรเช่าใช้ในราคาที่ต่ำลง เช่น เครื่องจักรกลทางการเกษตร หรือสินค้าทุนที่ใช้ในการแปรรูปสินค้า เช่น โรงสีชุมชน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรแปรรูปสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายที่สามารถตอบสนองความต้องการการบริโภคของภาคครัวเรือนได้โดยตรง และให้ความรู้เกษตรกรเพื่อใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูก เช่น การทำเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้มากขึ้นผ่านระบบที่มีความแม่นยำสูง จะทำให้สามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดปริมาณการใช้ยาปราบศัตรูพืชได้